เทคโนโลยีสารสนเทศ มีเอกสารเผยแพร่ความรู้ใหม่มากมาย ยุคที่สาม

เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นคำที่รู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ในสังคมยุคข่าวสาร หรือสังคม สารสนเทศไร้พรมแดน โดยนักวิชาการชื่อ อัลวิน ทอฟเลอร์ (Alvil Toffler) (ครรชิต มาลัยวงศ์ 2535, 20) ได้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญและน่าสนใจ เพราะเกี่ยวข้องกับการดำรง ชีวิตของมนุษย์ทุกคนบนโลก และส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตทั้งของคนและของประเทศชาติอย่างมหาศาล ทุกประเทศในโลกให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอย่างมาก

จะเห็นได้จากกลุ่มประเทศ OECD (Organization for Economic Cooperation and Development) ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบ ศักยภาพของเทคโนโลยีไฮเทค 5 กลุ่ม ได้แก่ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุใหม่ เทคโนโลยีอวกาศ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยศึกษาถึงประเด็นสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ การ สร้างผลิตภัณฑ์

และบริการใหม่ๆ การปรับปรุงกระบวนการหรือผลิตภัณฑ์และบริการ การยอมรับ จากสังคม การนำไปใช้ประยุกต์ในภาค/สาขาอื่นๆ และการสร้างงานในทศวรรษปี ค.ศ. 1990s ผลการ ศึกษาปรากฎว่า เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการยอมรับว่ามีศักยภาพสูงสุด ในทุกๆ ประเด็นที่ทำการ ศึกษา ในสหรัฐอเมริกา ได้มีการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะเดียวกัน

เมื่อนำคำว่า เทคโนโลยี และ สารสนเทศ มารวมกันเป็นคำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ
(Information Technology) จะหมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา จัดการ ประมวลผล จัดเก็บ เรียกใช้แลกเปลี่ยน หรือเผยแพร่สารสนเทศด้วยเทคโนโลยีเล็กทรอนิกส์ หรือการนำ
สารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของข้อมูลนั้นๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายของผู้ใช้ (สารนิเทศ ศาสตร์ 2532, 165) จุดกำเนิดของสารสนเทศนั้นเกิดขึ้นเมื่อหกพันปีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยสุเมเรียนในแถบตะวันออก

และทะเลเมดิเตอร์ริเนียน ที่มีการจารึกเรื่องราวต่างๆ ลงบนกระเบื้องดินเผา หรือในประเทศไทยพบว่า มีการจารึกสัญลักษณ์ต่างๆ เมื่อก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม จ.อุบลราชธานี ต่อมามีการใช้หนังสัตว์ เพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆ จนกระทั่งชาวอียิปต์โบราณ รู้จักวิธีทำการกระดาษปาปิรุส ขึ้น ในขณะที่ ประเทศไทยมีการใช้ใบลาน จารึกคัมภีร์ พระไตรปิฏกต่างๆ วิวัฒนาการของ การบันทึกเรื่องราวได้ ดำเนินเรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อกล่าวมา

ถึงตอนนี้คงพอจะนึกออกกันแล้วว่า สารสนเทศหรือสาร- นิเทศนั้น มีวิวัฒนาการมายาวนานควบคู่กับประวัติศาสตร์ของมนุษย์เลยทีเดียว เพียงแต่รูปแบบของ สารสนเทศที่ปรากฏในสมัยโบราณนั้นเป็นสัญลักษณ์และรูปภาพเสียส่วนใหญ่ ซึ่งก็ยังคงนับว่าเป็น สารสนเทศอยู่นั่นเอง ต่อมาเกิดอุตสาหกรรมกระดาษและการพิมพ์ มีการบันทึกเรื่องราว สารสนเทศ ต่างๆ ลงบนกระดาษอย่างแพร่หลาย และดูเหมือนจะเป็นวิธีการที่นิยมใช้กันเรื่อยมา เทคโนโลยีการ ทำกระดาษและการพิมพ์นี้ เอื้อประโยชน์ให้เกิดกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น มนุษย์สามารถสื่อสาร แจ้งให้ผู้อื่นทราบความต้องการ เจตนา ตลอดจนอารมณ์ให้ ผู้อื่นได้ทราบ ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นของการ นำเทคโนโลยีมาจัดการกับสารสนเทศ และทำให้ สารสนเทศใน

สาขาวิชาต่างๆ ดำรงอยู่ได้มาจนปัจจุบัน ปัจจุบันสังคมได้กลายเป็นสังคมข่าวสาร โดยสมาชิกในสังคมไม่รู้ตัว แต่พร้อมรับความ
เปลี่ยนแปลงไปวันละเล็กละน้อย จนสารสนเทศเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน เช่น เมื่อบุคคล ต้องการซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค ต้องเสาะแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้านั้นๆ มาเปรียบเทียบกันใน แต่ละยี่ห้อ เพื่อดูราคา คุณภาพ และประโยชน์ปลีกย่อยที่จะได้จากตัวสินค้า หลังจากนั้นจึงตัดสินใจ ซื้อสินค้ายี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งที่ให้ประโยชน์สูงสุด และราคาที่สามารถจ่ายได้ นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการ ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน สารสนเทศทำให้บุคคลสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ

สังคมเกษตรเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมสารสนเทศ ดังนี้
ยุคแรก (First Wave) ยุคของเกษตรกรรม การดำรงชีวิตโดยส่วนใหญ่ยังต้องอาศัยธรรมชาติ มีการเลี้ยงสัตว์ เริ่มเพาะปลูก และสร้างบ้านเรือน ยุคที่สอง (Second Wave) เป็นยุคของอุตสาหกรรม ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตเกษตรกรรมสู่สังคมเมือง มีโรงงานผลิตสิ่งต่างๆ มีการประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์ มีเอกสารเผยแพร่ความรู้ใหม่มากมาย ยุคที่สาม (Third Wave) เป็นยุคของสังคมข่าวสารโดยเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1967 เป็นช่วงที่เรียกว่ายุคปฎิวัติ

สารสนเทศ (Information revolution) ยุคการทะลักทลายของข่าวสาร (Information explosion) เป็นผลมาจากหลังสงครามโลกครั้งที่สองมีการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจของประเทศที่แพ้สงคราม โดยมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น ก่อให้เกิดการตีพิมพ์สารสนเทศออกมาเผยแพร่อย่างมากมาย นักวิชาการ หรือนักวิจัย ใช้เอกสาร ตำรา วารสารหรือสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องเพิ่มมากขึ้น นักเอกสารสนเทศเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในการจัดเก็บเอกสาร และค้นคืนเอกสารที่มีอยู่จำนวนมาก

สนใจรับคำปรึกษาด้านวางระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์  EDMS บริการตรวจข้อสอบ นับคะแนน โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญจาก K&O ที่มีประสบการณ์มากว่า 15 ปี

สำหรับองค์กรที่ต้องการ Document and Content Management Solution ที่สมบูรณ์แบบ พร้อม Professional Services ที่มีประสบการณ์ Implement Alfresco มามากกว่า 100 โครงการณ์ สามารถติดขอคำปรึกษากับ K&O Systems

ทั้งนี้บริษัทเคแอนด์โอ จึงได้มุ่งเน้นการจัดการแก้ไขปัญหา จัดการเอกสาร ด้านเอกสารขององค์กรมาอย่างยาวนาน และ ให้ความสำคัญกับด้านงานเอกสาร ต่อลูกค้าเป็นอย่างดี จนถึงปัจจุบันก็ได้ความยอมรับจากองค์กร ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กมากมาย จึงใคร่ขออาสาดูและปัญหาด้านเอกสารให้กับองค์กรของท่านอย่างสุดความสามารถ เพราะเราเป็นหนึ่งในธุรกิจ ระบบจัดเก็บเอกสาร ที่ท่านไว้ใจได้

สนใจรับคำปรึกษาด้านวางระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์  EDMS โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญจาก K&O ที่มีประสบการณ์มากว่า 15 ปี รวมถึงซอฟต์แวร์ระดับโลก ติดต่อ 0 2 – 8 6 0 – 6 6 5 9

สนใจ บทความ หรือ Technology สามารถติดต่อได้ตามเบอร์ที่ให้ไว้ด้านล่างนี้
Tel.086-594-5494
Tel.095-919-6699

e-mail cs@ko.in.th หรือ K&O FB / เว็บไซต์หลัก สแกนเพื่อแอด Line พูดคุยตอนนี้

Related Articles